การจัดการกับความโกรธ
เขียนโดย อาจารริชาร์ด แบกสเติอร์ (แปลโดย แอนโทนี่ ควิก)
ความโกรธเป็นการตอบสนองทางอารมณ์ที่รุนแรงที่ยอมรับในความชั่วร้ายนั้นที่ทำให้ก้าวข้ามหรือขัดขวางเราในการทำสิ่งที่ดี ซึ่งพระเจ้าได้ทรงประทานให้เพื่อสันติภาพของเราทั้งหลาย ซึ่งมันจะกระตุ้นให้เราต่อต้านอย่างแข็งแรงกับสิ่งที่ขัดข้องกับพระสิริของพระเจ้า ความรอดของเรา สวัสดิภาพอันแท้จริงของเราหรือสันติภาพของเพื่อนบ้านของเรา เพราะฉะนั้นความโกรธจึงเป็นสิ่งที่ดีเมื่อมันถูกใช้ในลักษณะที่เหมาะสมและปริมาณที่ถูกต้อง แต่ว่าความโกรธอาจจะเป็นความบาปได้ด้วย
ความโกรธนั้นเป็นความบาปเมื่อ…
- เมื่อความโกรธนั้นต่อสู้กับพระเจ้าหรือความดี ดังเช่นกรณีของผู้ที่เปลี่ยนเป็นความโกรธเกรี้ยวกับเราเพราะว่าเรามองหาทางเพื่อที่จะนำพวกเขามายังพระเจ้าหรือแยกพวกเขาออกจากความบาป
- เมื่อความโกรธนั้นรบกวนสติและขัดขวางเราจากความคิดที่ถูกต้อง
- เมื่อความโกรธนั้นเป็นสาเหตุทำให้เรามีการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยา ทำให้เราพูดในสิ่งที่ไม่ดีหรือมีการกระทำที่ไม่ดี
- เมื่อความโกรธเป็นเหตุทำให้เราทำผิดต่อผู้อื่นโดยคำพูดของเราและการกระทำของเรา หรือการปฏิบัติต่อผู้อื่นในทางที่ซึ่งถ้าเป็นตัวเราเองอาจไม่ชอบการที่เขากระทำเช่นนั้นต่อเรา
- เมื่อความโกรธนั้นไม่บังควรและไม่มีเหตุผลซึ่งเป็นสาเหตุของความโกรธนั้น
- เมื่อความโกรธนั้นยิ่งมากกว่าการสิ่งยั่วยุความโกรธเกรี้ยวนั้น
- เมื่อความโกรธทำให้เรากระทำการอย่างไม่เหมาะสมต่อพระเจ้าหรือต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
- เมื่อความโกรธขัดขวางความรัก ความปราณีต่อเพื่อนมนุษย์ และความดีที่เราควรจะกระทำต่อผู้อื่น
- เมื่อความโกรธเป็นสิ่งที่ส่งเสริมความพยาบาท การแก้แค้น การโต้แย้ง การแตกแยกกัน การกดดันผู้ที่อยู่ภายใต้เรา และการไม่ให้เกียรติแก่ผู้ที่อยู่เหนือเรา
- เมื่อความโกรธถูกปล่อยไว้นานเกินไปและไม่หยุดยั้งมันเมื่อความโกรธนั้นได้บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว
- เมื่อนำความโกรธเป็นเครื่องมือผลักดันความเห็นแก่ตัว ความอยากฝ่ายเนื้อหนังและความบาปมากขึ้นของเรา ความโกรธเป็นบาปเมื่อเรารู้สึกโกรธเพราะความทะนงตน ผลประโยชน์ตน หรือความอยากฝ่ายเนื้อหนังของเราถูกขัดขวาง
ข้อควรพิจารณาในการขจัดความโกรธที่เกิดจากความบาป
1. ความโกรธที่ไม่ควบคุมส่งผลให้มนุษย์ชนได้รับความเจ็บปวดและเป็นการขัดขืนกับการมีเหตุมีผล ความโกรธมันปราศจากเหตุผลและต่อสู้กับความสมเหตุสมผล อารมณ์ทั้งหมดเหล่านี้ควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของเหตุผล มันเป็นความบ้า และเหมือนกับการกระทำที่ผิดศีลธรรมของคนเมา เพื่อหยุดยั้งและลดอำนาจของสติสัมปชัญญะของเรา
ความโกรธที่เกิดจากความบาปเป็นการบ้าคลั่งหรือความมึนเมาที่ชั่วคราว เนื่องด้วยสติสัมปชัญญะของเรานั้นถูกวางไว้ด้านข้าง โปรดจำไว้ว่าท่านคือมนุษย์คนหนึ่งและมันเป็นการเสื่อมเกียรติยศอย่างยิ่งที่จะยอมกระทำตามอาการคลุ้มคลั่งเหมือนกับสัตว์ร้าย
2. พระเจ้าทรงเตรียมการเอาไว้เพื่อควบคุมอำนาจทางจิตใจสำนึก และทรงควบคุมอำนาจฝ่ายรางกายผ่านทางอำนาจจิตใจนั้น ความโกรธที่เกิดจากความบาปก็ปกปิดความมีเหตุมีผลของเราเสีย ดังนั้นเราจึงไม่อยู่ในสภาพที่เข้มแข็งเพื่อที่จะเชื่อฟังพระบัญชาทั้งหลายของพระเจ้า
3. ตัณหาชั่วร้ายเป็นความเจ็บปวดและเป็นอาการป่วยชนิดหนึ่งของจิตใจ ท่านจะรักความเจ็บป่วยหรือสงวนความเจ็บปวดไว้หรือ? ท่านไม่รู้สึกว่าตัวท่านเองนั้นเจ็บปวดและมีอาการป่วยในขณะที่ท่านโกรธอยู่นั้นหรือ? ไม่มีใครที่อยากจะมีชีวิตอยู่อย่างต่อเนื่องในสภาพความเจ็บป่วยนั้น เพราะในสภาพการณ์เหล่านั้น ท่านจะกระทำความดีอะไรได้หรือ? ท่านจะมีความสุขในชีวิตของท่านในสภาพนั้นหรือ? ท่านจะได้ความปลอบโยนใจจากชีวิตของท่านในสภาพนั้นหรือ? ถ้าความโกรธที่เกิดจากความบาปเป็นสิ่งที่เลวร้ายอยู่เป็นระยะเวลาที่นาน วิธีไหนที่มันจะเป็นสิ่งที่ดีในระยะเวลาที่สั้นๆ? อย่าตั้งใจเก็บปัญหาแห่งความเจ็บป่วยเหล่านี้ไว้ในจิตใจของท่านอีกเลย
4. โปรดสังเกตด้วยเช่นเดียวกันว่าความโกรธเลวร้ายแล้วนี้เป็นศัตรูต่อร่างกายของท่านอีกด้วย มันทำให้โลหิตนั้นอักเสบ ทำให้โรคภัยต่างๆ เกิดขึ้น ก่อให้เกิดความไม่สบายขึ้นในจิตใจ ทำลายเรี่ยวแรงของเรา และนำคนหลายคนไปสู่ความเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างรุนแรงซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่ความตาย และช่างเป็นความตายที่ไร้การปลอบโยนอย่างแท้จริง
5. ลองสำนึกดูว่าท่านไม่น่ารักและไม่เป็นที่พอใจของคนรอบข้างที่เขาสังเกตท่านอยู่ ความโกรธทำให้สีหน้านั้นพิกลพิการไป และพรากนำความอ่อนหวานและความสุภาพเรียบร้อยที่ปรากฏขณะที่เราอยู่ในความสงบเสงี่ยมและในอารมณ์ที่น่ารักสูญเสียไป ถ้าท่านมีลักษณะเป็นแบบนั้นอยู่เสมอจะมีใครที่จะรักท่านอยู่หรือ? พวกเขาจะไม่หนีออกไปจากทางของท่านหรือ (ถ้าพวกเขาไม่ได้จับท่านก่อน) เช่นเดียวกับที่พวกเขาจะจับสิ่งซึ่งบ้าคลั่งหรือเสียสติ? ท่านคงไม่อยากจะให้ภาพลักษณ์ของท่านนั้นถูกนำออกไปในขณะที่อยู่ในสภาพที่โกรธกริ้ว การทำหน้าบูดบึ้งและโลหิตที่กริ้วจัดทำให้เสียโฉม จงอย่ารักสิ่งซึ่งทำให้ท่านเป็นที่ไม่น่ารักต่อผู้อื่น
6. ท่านควรจะหลีกเลี่ยงความโกรธเกรี้ยวนี้เสียเพราะว่ามันทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดและมันเป็นศัตรูของความรักและเป็นสิ่งที่อันตรายแก่ผู้อื่น ทุกครั้งที่ท่านโกรธเกรี้ยวท่านก็รู้สึกแค้นจนอยากทำร้ายผู้ที่ทำให้ท่านโกรธและคนอื่นๆ ด้วยในขณะที่ท่านกำลังอยู่ในอารมณ์แห่งความเกรี้ยวกราดนั้น อารมณ์โกรธเกรี้ยวนี้มันปลุกฝั่งความคิดชั่วร้ายและชวนคำพูดที่เจ็บปวดออกมาจากปากของท่าน และทำให้ท่านสร้างความเจ็บปวดแก่ผู้อื่น ไม่มีใครรักบุคคลที่เป็นอันตราย จงหลีกเลี่ยงอารมณ์ที่ก่อให้เกิดปัญหาเหล่านี้เถอะ
7. จงใส่ใจเกี่ยวกับแนวโน้มในอารมณ์โกรธเกรี้ยวของท่าน ท่านจะพบว่าถ้าท่านไม่หยุดเสียแต่เนิ่นๆ มันจะนำแต่ความพินาศไปสู่พี่น้องของท่าน ก่อการนองเลือด และทำให้ท่านถูกกำจัดและสาปแช่ง มีคนมากมายนับไม่ถ้วนที่ถูกฆาตกรรมหรือทำลายเนื่องจากความโกรธเกรี้ยว มันเป็นสาเหตุแห่งการสงคราม และถมเติมโลกนี้ด้วยเลือดและความโหดร้าย ท่านควรจะยอมให้ใจของท่านทำตามความโหดร้ายกราดเกรี้ยวเช่นนี้หรือ?
8. ลองพิจารณาดูว่าต้นความบาปที่เกิดจากความโกรธเกรี้ยวนั้นมีมากมายเพียงใด มันเหมือนกับการคลุ้มคลั่ง ที่คนๆ หนึ่งไม่มีการควบคุมตนเองและให้ตัวเองนั้นเปิดประตูแห่งความชั่วร้ายอันใหญ่หลวง ลองพิจารณาดูว่าคำสบถและคำแช่งด่ามีมากมายเพียงใดอยู่ทุกวัน ความไม่ยั้งคิดและการกระทำที่ชั่วร้ายมีมากมายเพียงใดซึ่งความโกรธนั้นได้ทำให้เกิดขึ้น ความโกรธนั้นได้ก่อให้เกิดการพูดใส่ร้าย การส่อเสียด การตำหนิติเตียน การเป็นพยานเท็จ และกระทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นต่อคนนับพัน มันทำให้เกิดโศกนาฏกรรมและทำให้ครอบครัวพินาศ พร้อมทั้งเมืองและประเทศพินาศไปด้วย มันได้ทำให้บิดามารดาฆ่าบุตรของตนเอง และทำให้ลูกๆ ไม่เชื่อฟังบิดามารดา มันได้ทำให้ผู้นำเข่นฆ่าประชากรของตนเอง และประชากรก็กบฏและฆ่าผู้นำของพวกเขา ความโกรธเกรี้ยวที่เป็นปาบก็ได้กระทำปาบไปทั่วโลกนี้ แล้วไม่มีการสิ้นสุดของภาพอนิจจังเหล่านั้น กษัตริย์ดาวิดเองครั้งหนึ่งก็เคยตกลงในความโกรธเกรี้ยวทำให้ดาวิดทรงตั้งพระทัยสังหารครอบครัวของนาบันทั้งครอบครัว ทุกอย่างเหล่านี้เป็นเหตุสมควรให้เราทั้งหลายรังเกียจความโกรธเกรี้ยว
9. ความโกรธเป็นความบาปซึ่งไม่ได้ปล่อยให้ท่านทำบาปเพียงครเดียวเท่านั้น แต่มันยังปลุกปั่นคนอื่นให้โกรธกันไปด้วย ความโกรธเกรี้ยวก่อให้เกิดความโกรธเกรี้ยวดังเหมือนเปลวไฟก่อให้เกิดเปลวไฟ เมื่อท่านโกรธเกรี้ยวก็ทำให้ผู้อื่นโกรธเกรี้ยวด้วย หรือเกิดความไม่พอใจ หรือก่อให้เกิดความทุกข์ใจเนื่องด้วยคำพูดและการกระทำของท่าน และถ้าท่านได้ยั่วยุให้ผู้อื่นโกรธเกรี้ยวแล้ว ท่านก็ไม่รู้ขอบเขตของความบาปที่พวกเขาอาจจะกระทำไปเพราะความโกรธนั้น ท่านไม่มีอำนาจเพื่อจะบรรเทาความโกรธของพวกเขาภายหลังที่ความโกรธของท่านเองได้ลดลงแล้ว ความโกรธคือเครื่องมือของซาตานที่ยั่วยุความชั่วช้าของมนุษย์และก่อให้เกิดเปลวไฟทั้งในใจคน ในครอบครัว และในประเทศให้ลุกไหม้เสีย
10. ลองสังเกตดูกันว่าความโกรธทำให้ท่านไม่สมบูรณ์สำหรับหน้าที่ความรับผิดชอบที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ คือการอธิษฐาน การใคร่ครวญ หรือการสื่อสัมพันธุ์กับพระเจ้าแม้แต่อย่างใด สิ่งเหล่านี้ควรก่อให้เกิดความระมัดระวังในผู้ที่มีจิตวิญญาณอันงดงาม คือที่ว่ามีสิ่งใดบ้างที่สามารถทำให้เราอาจไม่เหมาะสมที่จะสนทนากับพระเจ้าหรือร่วมในการนมัสการพระเจ้า ถ้าแท้จริงแล้วท่านเข้าร่วมในการอธิษฐานหรือการนมัสการใดๆ ด้วยอารมณ์ที่โกรธเกรี้ยว พระเจ้าอาจจะตรัสเช่นเดียวกับอาคีช กษัตริย์แห่งเมืองกัท ที่ทรงตรัสต่อกษัตริย์ดาวิดว่า “ข้าขาดคนบ้าหรือ เจ้าจึงพาคนนี้มาทำบ้าให้ข้าดู?” ความโกรธเกรี้ยวทำให้เราและทั้งครอบครัวของเรา โบสถ์ หรือสังคมของเรานั้นไม่เหมาะพร้อมที่จะถวายการนมัสการแด่พระเจ้า ครอบครัวพร้อมอธิฐาณเมื่อความโกรธเกรี้ยวได้เข้ามาเปรอะเปื้อนและรบกวนจิตวิญญาณของพวกเขาอย่างนั้นหรือ? มันทำให้คริสเตียนและคริสตจักรแตกแยกกันไป และเป็นสาเหตุแห่งความวุ่นวายและการกระทำชั่วช้าลามกทุกอย่าง (ยากอบ 3:15-16)
11. การที่ผู้รับใช้คนหนึ่งคนใดของพระเจ้าไม่สามารถจะควบคุมตนเองเป็นความอัปยศอย่างยิ่งต่อพระเกียรติแห่งพระคุณของพระเจ้า มันเป็นเหตุให้โลกนี้ฉงนใจว่าทำไมพระคุณนั้นไม่มีอำนาจที่จะปกครองความบ้าคลั่งของอารมณ์ มันเป็นการเสื่อมเกียรติแก่พระเจ้าเมื่อเราไม่ได้ให้ความอดทน ความยำเกรงพระเจ้า หรือการควบคุมตนเองนั้นครอบครองจิตใจของเรา อย่าทำผิดดังนี้ต่อพระเจ้าโดยความอัปยศต่อพระคุณและพระวิญญาณของพระองค์
12. ความโกรธคือความบาปต่อจิตสำนึกคุณธรรมของเรา เพราะเมื่อขณะที่ผู้หนึ่งผู้ใดได้สำนึกผิดชอบโดยสภาพจิตใจที่เหมาะสม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีก็จะถูกจู่โจมและจิตวิญญาณถูกเฆี่ยนตีด้วยความโศกเศร้าเหนือความล้มเหลวของตนนั้น การตระหนักถึงการที่เราจะต้องกลับใจหลังจากนั้นควรทำให้เราแสวงหาการหลีกเลี่ยงความโกรธนั้นที่เป็นสาเหตุทำให้เราได้รับความอับอายและความทุกข์ใจ
คำกล่าวค้านที่ 1
แต่ท่านอาจจะพูดว่า : “ข้าพเจ้าเป็นคนอารมณ์เสียง่ายโดยธรรมชาติและไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้”
คำตอบ : มันเป็นเรื่องจริงที่การแสดงออกทางอารมณ์ของท่านอาจจะมีแนวโน้มในเรื่องความโกรธมากขึ้นกว่านิสัยใจคอของคนอื่น แต่เพียงสิ่งนี้ไม่สามารถผลักดันท่านให้เกิดความโกรธอันเลวร้ายได้ สัมปชัญญะและความมุ่งมั่น โดยที่ปฏิบัติหน้าอย่างถูกต้อง ก็สามารถสั่งและควบคุมอารมณ์ได้ ถ้าท่านรับรู้ถึงแนวโน้มในการเกิดอารมณ์โกรธอย่างง่ายๆ ของตัวท่านเอง ท่านก็ควรจะตื่นตัวและคอยระวังมากขึ้นในเรื่องนั้น
คำกล่าวค้านที่ 2
“แต่การยั่วยุนั้นมันมากเกินไปจนอาจทำให้ใครๆ เกิดความโกรธได้ถ้าอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกัน”
คำตอบ : นี่เป็นคำโต้แย้งที่ขาดทักษะอย่างมาก ซึ่งท่านคิดว่าการยั่วยุบางอย่างสามารถเป็นสิ่งที่ใหญ่มากพอจะทำครอบคลุมเหนือสัมปชัญญะของมนุษย์ได้และปล่อยให้เขานั้นทำลายพระบัญญัติของพระเจ้าได้ การยั่วยุซึ่งท่านชอบเรียกว่ายิ่งใหญ่เหลือเกินนั้นอาจจะเป็นสิ่งเล็กน้อยหรือไม่อาจดำรงอยู่ได้กับผู้ที่มีจิตใจเตรียมไว้แล้ว ท่านควรจะพูดว่า “ความสง่าผ่าเผยของพระเจ้าและความน่าเกรงขามของพระองค์นั้นยิ่งใหญ่จนข้าพเจ้าไม่ควรจะไตร่ตรองการขุ่นเคืองพระองค์เนื่องจากการยั่วยุใดๆ ทั้งสิ้นเลย” พระเจ้าไม่ได้ทรงประทานเหตุให้เราเชื่อฟังยิ่งใหญ่กว่าเหตุที่มนุษย์มีไว้เพื่อให้เราทำความบาปหรือ?
คำกล่าวค้านที่ 3
“แต่ว่ามันเกิดขึ้นเร็วมากจนกระทั่งข้าพเจ้าไม่มีเวลาที่จะคิดรอบคอบหรือขัดขวางมันได้”
คำตอบ : ท่านยังคงไม่มีสติสัมปชัญญะอยู่หรือ? สติสัมปชัญญะของท่านควรจะเตรียมพร้อมไว้แล้วสำหรับการควบคุมความโกรธพอๆ กับที่ความโกรธนั้นพร้อมกบฏไม่ใช่หรือ? จงระงับความโกรธในขณะที่มันพุ่งขึ้นและใช้เวลาคิดรอบคอบแทน
คำกล่าวค้านที่ 4
“ข้าพเจ้าโมโหแค่ระยะเวลาสั้นๆ หลังจากนั้นข้าพเจ้าก็รู้สึกเสียใจเมื่อมันผ่านไปแล้ว”
คำตอบ : แต่ถ้ามันสิ่งที่ชั่วร้าย แม้ว่าจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ มันก็ยังคงเป็นความบาปและควรจะหลีกเลี่ยงให้ได้ ถ้าท่านทราบล่วงหน้าว่าท่านจะต้องรู้สึกเสียใจ ทำไมท่านจะยังคงเพาะความระทมทุกข์ให้กับตนเอง?
คำกล่าวค้านที่ 5
“ทุกคนก็มีความโมโหเหมือนกันในบางครั้งแม้แต่คนที่ดีที่สุด”
คำตอบ : ความบาปไม่เคยเป็นสิ่งที่ดีแม้แต่มีคนมากมายยอมกระทำในสิ่งนั้น ถ้าท่านลองสังเกตดูผู้อื่นที่ครอบครองด้วยพระคุณของพระเจ้า ท่านจะพบว่ามีคนมากมายหลายคนที่เขาไม่ไวต่ออาการโมโห และพวกเขาก็ไม่ได้มีพฤติกรรมที่บ้าคลั่ง ด่าว่า แช่งด่า สบถ หรือกระทำสิ่งที่ไม่ดีต่อผู้อื่น
คำกล่าวค้านที่ 6
“ข้าพเจ้าไม่ได้ปล่อยให้ถึงตะวันตกเหนือความโกรธกริ้วของข้าพเจ้า ดังนั้นมันจึงไม่เป็นความโกรธที่ชั่วร้ายและบาป” “อย่าให้ถึงตะวันตกท่านยังโกรธอยู่” (เอเฟซัส 4:26)
คำตอบ : ท่านอัครสาวกไม่เคยกล่าวว่าความโกรธนั้นเป็นความบาปเมื่อมันยังคงดำเนินต่อเนื่องข้ามวันไปเท่านั้น แต่ท่านอัครสาวกเปาโลได้บอกให้กับพวกเราว่าอย่าลงไปในความโกรธที่เป็นบาปใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนั้น ถ้าหากท่านได้ลงไปนั้น อย่างไรก็ดีจงหยุดยั้งความโกรธนั้นอย่างรวดเร็วและไม่ดำเนินต่อเนื่องไปในความโกรธนั้นอีกเลย อย่าให้เกิดความโกรธโดยไม่มีสาเหตุ หรือให้ความโกรธนั้นเลยไปไกลจากสาเหตุนั้น เมื่อท่านโกรธอยู่ อย่าทำความบาปโดยการแสดงออกที่ไม่น่ารัก และไม่ปล่อยให้ทั้งคำพูดและการกระทำที่ชั่วร้ายออกมาจากปากหรือพุ่งแสดงออก อย่าปล่อยให้ความไม่พอใจของท่าน ถึงแม้ว่าอาจจะถูกต้องนั้น ดำเนินต่อไป จงรีบทำการคืนดีกันและให้อภัย
ทิศทางในการจัดการต่อสู้กับความโกรธที่ชั่วร้ายและบาป
การจัดการแบบที่ 1
การช่วยเหลือที่สำคัญที่สุดในการต่อสู้กับความโกรธอยู่ที่การฝึกจิตใจให้เปลี่ยนเป็นทัศนคติที่ถูกต้อง
เราต้องดำรงชีวิตอยู่ภายใต้พลังอำนาจของพระเจ้า ด้วยความตระหนักถึงความเชื่อฟังในการทรงนำของพระองค์ในจิตใจของเรา จิตใจของเราควรจะตระหนักถึงความเมตตาคุณของพระองค์ผู้ทรงยกโทษแก่เราและรักษาเราไว้ และด้วยพระคุณนั้นที่ได้ช่วยเหลือเราและรักษาเรา จิตใจของเราควรจะให้ความใส่ใจในความรักที่เราเป็นหนี้บุญคุณต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เช่นนั้นจิตใจก็เป็นเหมือนป้อมปราการและพลังแห่งการคุ้มครองจากภายใน ดังที่ความโกรธเกรี้ยวนั้นออกมาจากภายในเรา ความสุภาพอ่อนโยนก็ออกมาจากภายในเราเช่นเดียวกัน สาเหตุหลักแห่งความโกรธกริ้วหรือความอ่อนสุภาพนั้นก็อยู่ภายใน
การจัดการแบบที่ 2
จงระมัดระวังเพื่อให้มีจิตใจที่นอบน้อมถ่อมตนและไม่ถือตัวสูงเกินสมควร เพราะว่าการนอบน้อมถ่อมตนอดกลั้นและไม่ได้กล่าวเกินจริงต่อความเจ็บปวดที่ประสบของตน ผู้ใดที่ทะนงตัวก็พิจารณาสิ่งต่างๆ ที่ได้ถูกกล่าวหรือกระทำนั้นเป็นเหมือนกับความเลวร้ายหรือเหลือที่จะทนได้ แต่ผู้ที่ยอมถ่อนตัวก็มองเห็นสิ่งที่ถูกกระทำหรือถูกกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่มีความหมายเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง คนที่คิดว่าตัวเองนั้นยิ่งใหญ่ก็เข้าใจว่าการต่อต้านเขานั้นยิ่งใหญ่ขึ้นไปด้วย ความเย่อหยิ่งเป็นบาปที่ไม่อดกลั้น และไม่มีใครสามารถทำคนหยิ่งให้พอใจได้เว้นแต่ด้วยสติปัญญา ความห่วงใย และความพากเพียรอย่างมาก เสมือนว่าท่านต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากรอบๆ ตัวเขา เช่นเดียวกับที่คุณต้องระมัดระวังอยู่รอบๆ กองฟางหรือดินปืนเมื่อท่านถือเทียนอยู่ในมือ
“เพราะความทะนงตัวเท่านั้นการวิวาทจึงเกิดขึ้น” สุภาษิต 13:10
“คนใจเย่อหยิ่งเร้าให้เกิดการวิวาท” สุภาษิต 28:25
“ขอให้ริมฝีปากที่มุสาเป็นใบ้ ซึ่งพูดทะลึ่งอวดดีต่อคนชอบธรรม ด้วยความจองหองและการดูหมิ่น” สดุดี 31:18
การนอบน้อมถ่อมตน ความสุภาพอ่อนน้อม และความอดทนอดกลั้น ดำรงอยู่ด้วยกันและตายไปพร้อมกัน
การจัดการแบบที่ 3
จงระมัดระวังที่จะหลีกเลี่ยงความคิดแบบทางโลกและความละโมบ
จิตใจที่มุ่งมั่นอยู่กับทางโลกก็ใส่ใจแต่การสะสมสิ่งของบนโลกนี้จนกว่าทุกความสูญเสีย การต่อต้าน หรือความเจ็บปวด ทำให้ไม่มีความมั่นคงและก่อให้เกิดอารมณ์โกรธกริ้ว ไม่มีสิ่งได้สิ่งหนึ่งสามารถทำให้คนละโมบเกิดความพึงพอใจได้ ทุกการละเมิดเล็กๆ น้อยๆ หรือการก้าวข้ามความต้องการของเขาก็ทำให้เขาโมโหและหงุดหงิด
การจัดการแบบที่ 4
จงหยุดยั้งการโกรธเกรี้ยวของท่านแต่เนิ่นๆ ก่อนที่มันจะดำเนินไปมากขึ้น
การควบคุมความโกรธเกรี้ยวในตอนแรกๆ นั้นเป็นที่ง่ายกว่าตอนปลาย จงเฝ้ามองดูการปลุกเร้าในตอนแรกของความโกรธกริ้วของท่านและบังคับให้มันสยบต่อท่าน ความตั้งใจและเหตุผลของท่านมีอำนาจยิ่งใหญ่ในการควบคุมความโกรธถ้าท่านยอมใช้ตามธาตุที่ถูกต้องของมัน ลูกไฟดับได้ง่ายกว่าเปลว และการเหยียบกำจัดงูก่อนที่มันฟักไข่ก็ง่ายกว่าเช่นกัน
การจัดการแบบที่ 5
จงเร่งควบคุมลิ้นของท่าน มือ และสีหน้าของท่านถึงแม้ว่าในทันใดนั้นท่านอาจจะยังไม่สามารถควบคุมหรือทำให้ความโกรธของท่านเงียบสงบได้
ในกรณีนี้ท่านจะหลีกเลี่ยงความบาปส่วนยิ่งใหญ่ได้ และความโมโหก็จะลดลงไปเองเนื่องจากมันไม่มีทางให้แสดงออกมา ถ้าท่านประสงค์ที่จะห้ามมันจริงท่านไม่สามารถพูดว่ามันไม่ได้อยู่ในอำนาจของท่านที่จะควบคุมลิ้นหรือมือของท่านได้ ท่านต้องไม่เพียงแต่หลีกเลี่ยงการสบถและการสาปแช่งเท่านั้นซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งจิตใจที่ไม่มีความเคารพต่อพระเจ้า แต่ท่านจะต้องหลีกเลี่ยงคำพูดที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น การโต้แย้ง การคัดค้าน และความขมขื่นและคำพูดที่เหน็บแนม ซึ่งมีแต่ความโน้มเอียงที่จะปะทุความโมโหของคนอื่น จงใช้ความนุ่มนวลและคำพูดที่อ่อนโยนซึ่งเป็นเอกลักษณ์แห่งความรักเพื่อโน้มน้าวทำให้ความร้อนที่ลุกไหม้นั้นเย็นลง
“คำตอบอ่อนหวานทำให้ความโกรธเกรี้ยวหันไปเสีย แต่คำกักขฬะเร้าโทสะ” สุภาษิต 15:1
การจัดการแบบที่ 6
อย่างน้อยที่สุดก็ให้เงียบๆ ไว้ก่อนจนกว่าสติสัมปชัญญะจะมีโอกาสเตือนและท่านจะมีโอกาสในการคิด จงอย่าเร่งด่วนจนไม่ลองพิจารณาว่าท่านกำลังพูดหรือกระทำอะไรอยู่ การยืดเวลาออกไปนิดๆ จะทำให้อารมณ์เย็นลงและทำให้เหตุผลนั้นได้ทำงานด้วยตัวมันเอง
“ความพากเพียรจะชักนำผู้ครอบครองได้ และลิ้นที่อ่อนหวานจะทำให้กระดูกหักได้” สุภาษิต 25:15
ความอดกลั้นจะทำให้ความโกรธของผู้อื่นลดลง ตลอดจนตัวท่านเองด้วย เขาเป็นคนคลุ้มคลั่ง ไม่ใช่คนมีเหตุมีผล ที่ไม่สามารถหยุดและพิจารณาก่อนได้
การจัดการแบบที่ 7
ถ้าท่านไม่พบวิธีการง่ายๆ เพื่อทำให้ความโกรธของท่านเงียบสงบลงหรือยับยั้งตัวท่านเอง ให้ออกจากสถานที่และกลุ่มคนที่ยั่วยุท่านอยู่ ดังนั้นท่านจะไม่ถูกเร้าไปเพิ่มเติมโดยคำโต้เถียง และจะไม่ทำให้ผู้อื่นฉุนเฉียวด้วยคำพูดที่กราดกริ้วของท่าน เมื่อท่านอยู่คนเดียว ความร้อนแรงนั้นจะดับลงไปเอง
“จงไปให้พ้นหน้าคนโง่ เมื่อเจ้าไม่พบริมฝีปากแห่งความรู้ในตัวเขา” สุภาษิต 14:7
ท่านไม่ควรที่จะไปแหย่รังแตน ในขณะที่ท่านได้ทำให้แตนนั้นเดือดดาลเรียบร้อยแล้ว
การจัดการแบบที่ 8
จงสร้างกิจวัตรของท่านในการหลีกเลี่ยงการพูดคุยและการโต้แย้งกับคนที่โมโหเท่าที่ท่านสามารถทำได้โดยไม่ได้ละเลยความรับผิดชอบของท่าน
จงหลีกเลี่ยงโอกาสและการยั่วยวนทั้งหมดที่อาจจะทำให้เกิดความบาปนี้ คนใดที่มีอาการไข้ก็ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้สถานการณ์นั้นแย่ลง ถ้าท่านกลัวโรคระบาดก็อย่าเข้าไปใกล้ผู้ที่ติดเชื้อนั้น อย่ายืนท่ามกลางแสงอาทิตย์ถ้าท่านได้รับความร้อนมากเกินไปแล้ว ให้อยู่ห่างๆ เท่าที่เป็นไปได้จากสิ่งที่มันยั่วยุท่านมากที่สุด
การจัดการแบบที่ 9
เมื่อท่านอยู่คนเดียวก็อย่าไปครุ่นคิดกับความเจ็บปวดหรือสถานการณ์ที่ผ่านไปแล้ว
อย่าปล่อยให้ความคิดของท่านหล่อเลี้ยงสถานการณ์เหล่านี้ ถ้าท่านทำแบบนั้น ท่านก็เป็นเหมือนกับปีศาจร้ายต่อตัวท่านเอง และล่อลวงตัวท่านเองให้เกิดความโกรธในขณะที่ไม่มีผู้อื่นยั่วยุแทนอีก ดังนั้นท่านก็จะทำให้เวลาส่วนตัวของท่านนั้นยั่วยุพอๆ กับเวลาที่ท่านอยู่ท่ามกลางผู้ที่ยั่วยุท่านเช่นเดียวกัน ท่านจะปลุกเร้าความโกรธในจิตใจโดยการจินตนาการของตัวท่านเอง
การจัดการแบบที่ 10
จงรักษาจิตใจของท่านโดยการพิจารณาอย่างมีชีวิตชีวาเรื่องความสุภาพอ่อนโยนและความอดกลั้นขององค์พระเยซูคริสต์เจ้า
พระองค์ทรงเชิญให้เรามาเรียนรู้วิธีการมีใจอ่อนสุภาพและถ่อมลงจากพระองค์เอง (แมทธิว 11:29)
“เพราะว่าพระคริสต์ได้ทรงรับทนทุกข์ทรมานเพื่อเราทั้งหลาย ให้เป็นแบบอย่างแก่เรา เพื่อท่านจะได้ตามรอยพระบาทของพระองค์…. เมื่อเขากล่าวคำหยาบคายต่อพระองค์ พระองค์ไม่ได้ทรงกล่าวตอบเขาด้วยคำหยาบคายเลย เมื่อพระองค์ทรงทนทุกข์ พระองค์ไม่ได้ทรงมาดร้าย แต่ทรงมอบเรื่องของพระองค์ไว้แก่พระเจ้าผู้ทรงพิพากษาอย่างชอบธรรม” 1 เปโตร 2:21, 23
จงระลึกถึงว่าพระองค์ได้ทรงอวยพระพรอย่างพิเศษผู้ที่อ่อนโยน โดยกล่าวว่า “บุคคลผู้ใดมีใจอ่อนโยน ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก” แมทธิว 5:5
การจัดการแบบที่ 11
จงดำรงชีวิตอย่างเหมือนอยู่ในสายพระเนตรของพระเจ้า และเมื่ออารมณ์โกรธของท่านพุ่งสูงขึ้น ให้ข่มมันไว้ด้วยพระนามอันน่าเกรงขามของพระเจ้า และเตือนสติตัวท่านเองว่าพระเจ้าและบรรดาทูตสวรรค์ของพระองค์ทรงเฝ้ามองท่านอยู่
การจัดการแบบที่ 12
ให้มองสังเกตคนอื่นในขณะที่เขามีอารมณ์โกรธเกรี้ยวอยู่ และพิจารณาดูว่าพวกเขานั้นได้ทำตัวไม่น่ารักมากเพียงใด ให้นึกถึงสีหน้าที่บูดบึ้ง ตาแดงก่ำ การคุกคาม การมองดูอย่างดุดัน และแนวโน้มแห่งอันตรายของเหล่าผู้ที่ปล่อยให้อารมณ์โกรธเกรี้ยวควบคุม และจงพิจารณาดูว่าสิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่น่าติดตามหรือไม่
การจัดการแบบที่ 13
เมื่อความโกรธพุ่งสูงขึ้น ให้สารภาพบาปของท่านแก่ผู้ที่อยู่รอบท่านๆ โดยไม่รอช้า จงแบกรับความอับอายของท่านเอง จงทิ้งความอับอายใส่ความผิดบาปและจงถวายเกียรติแต่พระเจ้า
จงยอมรับความอับอายของความบาปแห่งความโกรธที่ไม่มีการควบคุมซึ่งเป็นการไม่ถวายเกียรติแก่พระเจ้า สิ่งแล้วนี่อยู่ในอำนาจของท่านถ้าท่านย่อมกระทำจนประสบผลสำเร็จ และก็จะเป็นวิธีอย่างมีคุณค่ามากมายในการป้องกันจากความโกรธที่เป็นบาป
ในขณะที่ท่านถูกล่อลวงให้ทำบาปโดยความโกรธ ให้พูดกับคนที่อยู่รอบๆ ตัวท่านว่า “ข้าพเจ้ารู้สึกว่าความโกรธกำลังพุ่งขึ้นในจิตใจของข้าพเจ้าและข้าพเจ้าถูกล่อลวงให้หลงลืมพระเจ้าและกระทำในสิ่งที่ไม่เป็นการถวายเกียรติแต่พระสิริของพระเจ้า และพูดคำที่กระตุ้นยั่วเย้าซึ่งข้าพเจ้ารู้ดีว่าเป็นสิ่งที่น่าเกลียดต่อพระเจ้า” ในการสารภาพการถูกทดลองของท่านนั้น ท่านก็จะหยุดยั้งความรุนแรงของมันได้ และดับเปลวไฟที่กำลังลุกขึ้น เพื่อไม่ให้ความโกรธนั้นดำเนินการต่อไป ถ้าท่านหยุดการเดินหน้าของอารมณ์โกรธของท่านด้วยวิธีนี้ มันก็จะกลายเป็นเรื่องศักดิ์ศรีของท่านเพื่อไม่ให้ความโกรธซึ่งท่านได้สารภาพแล้วดำเนินการต่อ เพราะชื่อเสียงของท่านเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย
การจัดการด้วยวิธีการนี้ต้องเป็นไปพร้อมด้วยสติปัญญา เพื่อไม่ให้การสารภาพความผิดนั้นเป็นเหตุให้เกิดการแข็งข้อและยั่วยุต่อต้านท่าน หรือทำให้ท่านดูน่าหัวเราะ แต่ด้วยความรอบคอบและการระมัดระวังอย่างเหมาะสม วิธีการนี้ก็จะเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการปฏิบัติตาม ถ้าท่านตั้งใจกระทำให้ดี
การจัดการแบบที่ 14
ถ้าท่านได้ปล่อยให้อารมณ์โกรธของท่านพุ่งออกไปแล้วและกระทำผิดต่อผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นขุ่นเคือง โดยการกระทำหรือคำพูด จงสารภาพผิดต่อเขาเหล่านั้นอย่างรวดเร็ว และขอให้เขาอภัยแก่ท่าน
ในการสารภาพความผิดของท่านๆ อาจจะต้องการเตือนให้ผู้อื่นไม่ต้องทำตามตัวอย่างที่ไม่ดีของท่าน สิ่งนี้จะช่วยให้มโนธรรมของท่านโล่งและสงวนพี่น้องของท่านด้วย ในขณะเดียวกันมันก็จะช่วยให้เอาชนะผลจากของความโกรธของท่านด้วย และเป็นแรงบันดาลใจท่านในการหลีกเลี่ยงความบาปนี้ในอนาคตด้วย แต่ถ้าท่านถือทิฐิจนไม่ยอมกระทำดังนี้ ก็อย่าพูดว่าท่านไม่สามารถช่วยอารมณ์ของตัวเองได้ แต่มากกว่านั้นท่านไม่เต็มใจที่จะกระทำด้วยซ้ำ จิตใจที่ดีจะไม่คิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยุ่งยากเพื่อแก้ไขต่อสู้กับความบาปใดๆ เลย
การจัดการแบบที่ 15
เท่าที่สถานการณ์จะอนุญาต จงรีบเข้าหาพระเจ้าด้วยคำอธิษฐานเพื่อขอการอภัยและพระคุณเพื่อต่อสู้กับความบาปนี้
ความบาปไม่สามารถอดทนต่อการอธิษฐานและต่อการที่พระเจ้าทรงประทับอยู่ด้วย ทูลต่อพระเจ้าอย่างแท้จริงเรื่องจิตใจอันฉุนเฉียวง่ายของท่านที่ก่อให้เกิดความโกรธที่เป็นปาบ ทูลขอพระเจ้าให้ทรงช่วยท่านด้วยพระคุณอันล้นเหลือของพระองค์ ทูลขอพระคริสต์ผู้ทรงเป็นเจ้านายและเป็นสื่อกลางของท่านเพื่อช่วยท่าน และดังนั้นจิตวิญญาณของท่านจะเจริญขึ้นในความเชื่อฟังและสงบสุข
อัครสาวกเปาโลอธิษฐานวันละสามครั้งเกี่ยวกับอุปสรรคของท่านทางฝ่ายเนื้อหนัง (2 โครินธ์ 12:7-9) และพระคริสต์ทรงอธิษฐานในความทุกข์ทรมานของพระองค์ ดังนั้นท่านต้องอธิษฐาน และอธิษฐานแล้วอธิษฐานอีกจนกว่าท่านจะพบกับพระคุณอันล้นเหลือของพระเจ้าพอสำหรับท่าน
การจัดการแบบที่ 16
ทำสัญญากับเพื่อนที่จริงใจให้มองดูท่านและตำหนิอารมณ์โกรธของท่านในทันทีที่มันเริ่มจะปรากฏออกมา สัญญากับเพื่อนของท่านว่าท่านจะรับคำตักเตือนด้วยความยินดีและอยู่ในอารมณ์ที่ถูกต้องเหมาะสม
และจงรักษาสัญญาของท่านเพื่อเพื่อนของท่านจะไม่รู้สึกท้อแท้ ถ้าท่านเนื่อยกับกันกระทำความผิดและความบาปซ้ำแล้วซ้ำอีกก็จะทำทุกสิ่งเพื่อสามารถต่อสู้กับมันและเอาชัยชนะหรือว่าจะไม่สู้ ถ้าท่านตั้งใจ ท่านสามารถทำได้ ถ้าท่านไม่สมัครใจ ก็อย่าเสแสร้งว่าท่านนั้นกลับใจต่อความบาปและต้องการอย่างแท้จริงที่จะปลดปล่อยจากมันเมื่อมันไม่ได้เป็นแบบนั้นจริงๆ โปรดจดจำไว้ด้วยว่าผลที่มาจากความโกรธได้สร้างไม่ใช่บาปเล็กๆ แต่เป็นความบาปอันใหญ่หลวงมาก
“อย่าให้ใจของเจ้าโกรธเร็ว เพราะความโกรธมีประจำอยู่ในทรวงอกของคนเขลา” ปัญญาจารย์ 7:9
“บุคคลผู้โกรธช้าก็ดีกว่าคนมีกำลังมาก และบุคคลผู้ปกครองจิตใจของตนเองก็ดีกว่าผู้ที่ตีเมืองได้” สุภาษิต 16:32
“คนใจร้อนเร้าการวิวาท แต่บุคคลผู้โกรธช้าก็ระงับการชิงดี” สุภาษิต 15:18
“สามัญสำนึกที่ดีกระทำให้คนโกรธช้า และที่มองข้ามการละเมิดไปเสียก็เป็นสง่าราศีแก่เขา” สุภาษิต 19:11
0 Comments